figshare
Browse
1/1
2 files

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาการพัฒนาการเกษตรตามแนวทาง “Satoyama” (Satoyama Agricultural Development Tool)

Version 2 2014-07-30, 14:22
Version 1 2014-07-30, 14:18
dataset
posted on 2014-07-30, 14:18 authored by Devon DublinDevon Dublin

เครื่องมือในการศึกษานี้จัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาวิธีการในการประเมินชุมชนตัวอย่าง โดยการประเมินบน “หลักการพื้นฐานทั้ง 5 ประการของ Satoyama”
“Satoyama” เป็นคาภาษาญี่ปุ่น ซึ่งกล่าวถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ประกอบขึ้นจากระบบนิเวศที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันมีความเชื่อมโยงอยู่บนพื้นที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศป่าไม้ พื้นที่การเกษตร ชลประทาน ทุ่งหญ้า หมู่บ้านหรือชุมชน ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันของระบบนิเวศดังกล่าวเป็นเวลานาน โดยเกิดการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์และระบบนิเวศในพื้นที่
เนื่องจากหลักการของ “Satoyama” มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับงานทางด้านการเกษตร จึงมีความน่าสนใจที่จะนาหลักการของ “Satoyama” มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านของชาวเขาหรือชาวพื้นเมืองที่อาศัยในพื้นที่ชนบท ให้มีการทาการเกษตรแบบยั่งยืนอันจะทาให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศตามธรรมชาติและเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงานของท้องถิ่น
เครื่องมือที่ใช้ศึกษาจะมีลักษณะเป็นแบบสอบถามที่ใช้เก็บข้อมูลทั่วไปซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จาเป็น โดยประเด็นคาถามในเครื่องมือชุดนี้จะแยกกันตามหลักการของ “Satoyama” ในแต่ละด้าน ข้อมูลที่ได้รับมาจากท้องถิ่นอาจได้มากจากบุคคลที่นาเครื่องมือมาใช้ ทั้งนี้วิธีการนาไปใช้อาจมีความแตกต่างกันไปขึ้นกับตัวของผู้ที่ใช้เครื่องมือ สิ่งที่ต้องให้ความสาคัญคือผู้ที่ใช้เครื่องมือจะต้องตอบคาถามโดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่แท้จริง เครื่องมือที่จัดทาขึ้นมีความยืดหยุ่น โดยที่ผู้ใช้สามารถเพิ่มเติมหรือดึงบางคาถามออกไปในกรณีที่ไม่ต้องการเก็บข้อมูลในบางหัวข้อได้
คาถามจะเป็นแบบเชิงปริมาณ โดยมีระดับคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดย 1 หมายถึง คะแนนในระดับที่ต่าที่สุด และ 5 หมายถึง คะแนนในระดับที่สูงที่สุด ส่วนล่างสุดของตารางจะเป็นวิธีการคานวณคะแนนในรูปของร้อยละของคาตอบจากคะแนนเต็ม
หลังจากได้ทาการตอบแบบสอบถามทั้ง 5 ด้านแล้ว ในหน้าถัดไปจะเป็นจัดจาแนกชุมชนออกเป็นประเภทต่างๆ 3 ประเภท โดยพิจารณาเกี่ยวกับความสอดคล้องกับหลักการของ “Satoyama” กรุณาปฏิบัติตามคาแนะนา โดยผู้วิจัยได้อธิบายลักษณะของชุมชนในแต่ละประเภทโดยอาศัยพื้นฐานทางด้านการบริการของระบบนิเวศ และคุณภาพชีวิตของมนุษย์ และยังได้ให้ข้อแนะนาให้แก่ชุมชนที่ต้องการจะพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักการของ “Satoyama” ทั้ง 5 ด้านไว้ด้วย

History

Usage metrics

    Licence

    Exports

    RefWorks
    BibTeX
    Ref. manager
    Endnote
    DataCite
    NLM
    DC